วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อ้างอิง

อ้างอิง
 
(16.มิ.ย.57) http://th.wikipedia.org/wiki/
 
 

ผลกระทบของสงครามเย็น

ผลกระทบของสงครามเย็น
 
1.นอกจากทวีปยุโรปแล้ว สองอภิมหาอำนาจยังแข่งขันกันในภูมิภาคต่างๆส่งผลให้สงครามเย็นเพิ่มความตึงเครียด
 ทวีปเอเซียเป็นอีกเวทีหนึ่งของสงครามเย็น ในแถบตะวันออกไกลจีนเป็นดินแดนที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ประสบความสำเร็จที่สุด
 เมื่อจีนคอมมิวนิสต์นำโดยเหมาเจ๋อตุง เป็นฝ่ายมีชัยชนะในสงครามกลางเมือง ยึดครองแผ่นดินใหญ่ของจีนได้
 รัฐบาลจีนคณะชาติซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีและได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกา ต้องหนีไปตั้งรัฐบาลที่เกาะฟอร์โมซา
 ชัยชนะของจีนคอมมิวนิสต์มีผลกระทบต่อดุลอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือเป็นการพ่ายแพ้ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและเป็นการเสียดุลอำนาจครั้งสำคัญของโลกเสรีสหภาพโซเวียตและจีนเป็นสองประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่มีทรัพยากรมาก และมีจำนวนประชากรมหาศาลความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนจึงตึงเครียดมานับตั้งแต่นั้น
2.ความขัดแย้งของสงครามเย็นส่งผลให้ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ที่มีอุดมการณ์ต่างกัน กองทัพของประเทศเกาหลีเหนือซึ่งปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์ได้ยกข้ามเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือเข้ารุกรานประเทศเกาหลีใต้อย่างฉับพลัน สหประชาติจึงมีมติให้สหรัฐอเมริกาและกองกำลังทหารของสหประชาชาติจาก 18 ประเทศสมาชิกเข้าช่วยเกาหลีใต้จากการรุกรานครั้งนี้ จีนส่งกองทัพช่วยเกาหลีเหนือ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันจนกระทั่ง ค.ศ.1953 จึงมีการทำสนธิสัญญาสงบศึกสงครามเกาหลีก่อให้เกิดความตื่นตัวต่อการขยายอิทธิพของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซียสหรัฐอเมริกาเห็นความจำเป็นของการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเซียอย่างจริง จัง สำหรับประเทศญี่ปุ่น ลัทธิคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในวงแคบเสถียรภาพทางการเมืองความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและมาตรฐานสังคมในระดับสูงของประเทศญี่ปุ่น อันเป็นผลงานส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกาส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นกำลังสำคัญของโลกเสรีในทวีปเอเชีย
 
3.การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามาในอินโดจีนทำให้สหรัฐอเมริกานำนโยบายล้อมกรอบการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์มาใช้ในเอเซียด้วย นายจอห์น ฟอสเตอร์ ดัลเลส รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขณะนั้นประกาศอย่างแข็งขันว่าจะไม่ยอมให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวต่อไป โดยเชื่อมั่นในทฤษฏีโดมิโนว่าถ้าประเทศใดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคอมมิวนิสต์แล้วประเทศใกล้เคียงอื่นๆ ก็จะพลอยเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย ในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1954 จึงได้มีการสนธิสัญญาที่กรุงมะนิลาเพื่อจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Seato) ประกอบด้วย 8 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกา ไทย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ด้วยวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกับนาโต
 4.ในตะวันออกลาง หรือเอเซียตะวันตกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกันเองและระหว่างกลุ่มประเทศอาหรับกับประเทศอิสราเอลสหภาพโซเวียตฉวยโอกาสขยายอิทธิพลของตนด้วยวิธีารต่างๆ เช่น เสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและการทหารแก่ประเทศอิยิปต์ ในการปฏิรูปประเทศในสมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ด้วยการให้เงินสร้างเขื่อนอัสวานอืยิปต์เป็นผู้นำของกลุ่มประเทศอาหรับที่สหภาพโซเวียตต้องการส่งเสริมอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้แพร่หลายในภูมิภาคตะวันออกลางฝ่ายโลกเสรีจึงหาทางสกัดกั้นด้วยการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเซ็นโตหรือองค์การสนธิสัญญากลาง (Central Treaty Organization:CENTO) ซึ่งมีสมาชิก 5 ประเทศคือ สหราชอาณาจักร ตุรกี อิรัก อิหร่าน และปากีสถาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงและขยายอำนาจของลัทธิคอมมิวนิสต์ใน ภูมิภาคนี้

วิธีการที่ใช้ในสงครามเย็น

วิธีการที่ใช้ในสงครามเย็น
 
 
อย่างที่ทราบกันว่า สงครามเย็น ไม่ใช่สงครามที่ใช้การจับอาวุธมาเผชิญหน้าห้ำหั่นกันเหมือนสงครามทั่วไป หากแต่ใช้กลวิธีต่าง ๆ เพื่อตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม ดังนี้
          1. การโฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) เป็นวิธีการหนึ่งที่ฝ่ายเสรีประชาธิปไตยและฝ่ายคอมมิวนิสต์นิยมใช้ เพื่อสร้างความรู้สึกและทัศนะที่ดีเกี่ยวกับประเทศของตน โดยใช้คำพูด สิ่งตีพิมพ์ และการเผยแพร่เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนในประเทศของตน เพื่อแสดงให้เห็นว่าฝ่ายตนเป็นฝ่ายที่รักความยุติธรรม รักเสรีภาพและสันติภาพ ขณะเดียวกันก็ประณามฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นฝ่ายรุกราน เป็นจักรวรรดินิยม เป็นต้น
          2. การแข่งขันทางด้านอาวุธ สหรัฐอเมริกาและโซเวียตต่างพยายามแข่งขันกันสร้างเสริมกำลังอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรงไว้ครอบครองให้มากที่สุด จนกระทั่งต่างฝ่ายต่างมีจำนวนอาวุธยุทธศาสตร์ในปริมาณและสมรรถนะที่เกินความต้องการ ในเรื่องนี้นานาประเทศรวมทั้งองค์การสหประชาชาติ ได้พยายามให้มีข้อตกลงในเรื่องการจำกัดการสร้าง และการเผยแพร่อาวุธตลอดมา แต่ก็ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร
อาวุธยุทธศาสตร์ที่ทั้งสองฝ่ายแข่งขันกัน ได้แก่
          2.1 ขีปนาวุธข้ามทวีป ชนิดที่ยิงจากไซโลในพื้นดินไปสู่อวกาศ และตกกลับสู่ห้วงอวกาศตกไปยังเป้าหมาย มีชื่อเรียกทั้งระบบว่า ICEM –(Inter Continental Ballistic Missiles) มีทั้งระบบทำลายและระบบป้องกัน
          2.2 เรือดำน้ำนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธ
          2.3 เครื่องบินทิ้งระเบิดระยะทำการไกล
          อาวุธดังกล่าวถือว่า เป็นอาวุธยุทธศาสตร์นิวเคลียร์ (Strategic Nuclear Forces) ที่สหรัฐอเมริกาและโซเวียตมีสมรรถนะเท่าเทียมกัน และเหนือกว่าประเทศทั้งมวลในโลก นอกจากนี้อภิมหาอำนาจทั้งสอง ยังแข่งขันกันคิดค้นระบบการป้องกันขีปนาวุธในอวกาศซึ่งมีฐานปฏิบัติการอยู่ในอวกาศที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Strategic Defense Initative (SDI) ซึ่งรู้จักกันโดยทั่วไปว่า สตาร์ วอร์ส (Star Wars)

ความเป็นมาของสงครามเย็น

ความเป็นมาของสงครามเย็น
 
          เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยเยอรมนีเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต่อฝ่ายสหประชาชาติ ทำให้สหรัฐอเมริกาและโซเวียตขาดจุดมุ่งหมายที่จะดำเนินการร่วมกันอีกต่อไป และความขัดแย้งก็เริ่มต้นขึ้นหลังจากทั้งสองประเทศมีมุมมองต่ออนาคตของประเทศในยุโรปตะวันออกและประเทศเยอรมนีแตกต่างกัน และทำให้เกิดความขัดแย้งทางอุดมการณ์อย่างชัดเจน กล่าวคือ เกี่ยวกับประเทศยุโรปตะวันออกนั้น ประเทศทั้งสองได้เคยตกลงกันไว้ที่เมืองยัลต้า (Yalta) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.1945 ว่า
          "……เมื่อสิ้นสงครามแล้ว จะมีการสถาปนาการปกครองระบบประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้น" แต่พอสิ้นสงคราม โซเวียตได้ใช้ความได้เปรียบของตนในฐานะที่มีกำลังกองทัพอยู่ในประเทศเหล่านั้น สถาปนาประชาธิปไตยตามแบบของตนขึ้นที่เรียกว่า "ประชาธิปไตยของประชาชน" ฝ่ายสหรัฐอเมริกาจึงทำการคัดค้าน เพราะประชาธิปไตยตามความหมายของสหรัฐอเมริกา หมายถึง "เสรีประชาธิปไตยที่จะเปลี่ยนรัฐบาลได้โดยวิธีการเลือกตั้งที่เสรี" ส่วนโซเวียตก็ยืนกรานไม่ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
          ส่วนในประเด็นที่เกี่ยวกับประเทศเยอรมนีก็เช่นกัน เพราะโซเวียตไม่ยอมปฏิบัติการตามการเรียกร้องของสหรัฐอเมริกาที่ให้มีการรวมเยอรมนี และสถาปนาระบอบเสรีประชาธิปไตยในประเทศนี้ตามที่ได้เคยตกลงกันไว้
          ความไม่พอใจระหว่างประเทศทั้งสองเพิ่มมากขึ้น เมื่อประธานาธิบดีทรูแมน (Harry S. Truman) ของสหรัฐอเมริกา ได้สนับสนุนสุนทรพจน์ของอดีตนายกรัฐมนตรีเชอร์ชิล (Sir. Winston Churchill) ของอังกฤษ ซึ่งได้กล่าวในรัฐมิสซูรี เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ.1946 ว่า "ม่านเหล็กได้ปิดกั้นและแบ่งทวีปยุโรปแล้ว ขอให้ประเทศพี่น้องที่พูดภาษาอังกฤษด้วยกัน ร่วมมือกันทำลายม่านเหล็ก (Iron Curtain)" ซึ่งหมายความว่า เชอร์ชิลล์เรียกร้องให้มีการจับขั้วพันธมิตรระหว่างสหรัฐอเมริกากับอังกฤษเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต ซึ่งถูกมองว่าเป็นผู้สร้างม่านเหล็กกั้นยุโรป และด้วยสุนทรพจน์นี้เอง ทำให้ประเทศในโลกนี้แตกออกเป็นสองฝ่ายระหว่างประเทศประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน
          ส่วนปัญหาที่แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันในการเป็นผู้นำของโลกแทนมหาอำนาจยุโรปก็คือ การที่สหรัฐอเมริกาสามารถบังคับให้โซเวียตถอนทหารออกจากอิหร่านได้สำเร็จในปี ค.ศ.1946 ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ.1947 อังกฤษได้ประกาศสละความรับผิดชอบในการช่วยเหลือกรีซ และตุรกี ให้พ้นจากการคุกคามของคอมมิวนิสต์ เพราะไม่มีกำลังพอที่จะปฏิบัติการได้ และร้องขอให้สหรัฐอเมริกาเข้าทำหน้าที่นี้แทน
          ประธานาธิบดีทรูแมนจึงตกลงเข้าช่วยเหลือและประกาศหลักการในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาให้โลกภายนอกทราบว่า "……จากนี้ไปสหรัฐอเมริกาจะเข้าช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศที่รักเสรีทั้งหลายในโลกนี้ให้พ้นจากการคุกคามโดยชนกลุ่มน้อยในประเทศที่ได้รับการช่วยเหลือจากต่างประเทศ…" หลักการนี้เรียกกันว่า หลักการทรูแมน (Truman Doctrine)
          จากนั้น สหรัฐอเมริกาก็แสดงให้ปรากฏว่า ตนพร้อมที่จะใช้กำลังทหารและเศรษฐกิจ สกัดกั้นการขยายอิทธิพลของคอมมิวนิสต์ทุกแห่งในโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปยุโรป เอเชีย หรือแอฟริกา ทำให้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1947 ผู้แทนของโซเวียตได้ประกาศต่อที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกที่นครเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย ว่า "…..โลกได้แบ่งออกเป็นสองค่ายแล้วคือ ค่ายจักรวรรดินิยมอเมริกันผู้รุกราน กับค่ายโซเวียตผู้รักสันติและเรียกร้องให้คอมมิวนิสต์ทั่วโลก ช่วยสกัดกั้นและทำลายสหรัฐอมริกา…." ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่าถ้อยแถลงของผู้แทนโซเวียตนี้เป็นการประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ
          อย่างไรก็ตาม สงครามเย็นที่มีลักษณะเป็นทั้งการขัดแย้งทางอุดมการณ์และการแข่งขันเพื่อกำลังอำนาจของประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ซึ่งต้องการที่จะเป็นผู้นำโลก ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ลดความรุนแรง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างประเทศสำคัญ 2 ประการคือ
  สงครามเย็น
          1. การดำเนินนโยบาย "การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ" (Peaceful Co-existence) ของประธานาธิบดี นิกิตา ครุสชอฟ (Nikita Khrushchev) ของโซเวียต เนื่องจากเกรงว่าอำนาจนิวเคลียร์ที่โซเวียตและสหรัฐอเมริกามีเท่าเทียมกัน อาจถูกนำมาใช้ในกรณีที่ความตึงเครียดระหว่างสองฝ่ายมีความรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ยังเชื่อว่าประเทศที่มีลัทธิการเมืองและลัทธิเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน จะสามารถติตดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์ต่อกันได้ โดยไม่ยุ่งเกี่ยวในกิจการภายในซึ่งกันและกัน ดังนั้น การต่อสู้ระหว่างค่ายเสรีประชาธิปไตยกับค่ายคอมมิวนิสต์อาจจะเอาชนะกันได้โดยไม่ต้องใช้กำลัง
          อย่างไรก็ตาม หลักการอยู่ร่วมกันโดยสันติของโซเวียต เป็นเพียงแต่การเปลี่ยนจากการมุ่งขยายอิทธิพลด้วยสงครามอย่างเปิดเผยไปเป็นสงครามภายในประเทศและการบ่อนทำลาย ฉะนั้น ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาและโซเวียตต่างใช้วิธีการทุกอย่างทั้งด้านการทหาร การเมือง และเศรษฐกิจ ในการแข่งขันกันสร้างความนิยม ความสนับสนุนและอิทธิพลในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก โดยหลีกเลี่ยงการใช้อาวุธและการประจันหน้ากันโดยตรง
          2. ความแตกแยกในค่ายคอมมิวนิสต์ระหว่างโซเวียตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเริ่มปรากฏตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 เป็นต้นมา และเมื่อจีนสามารถทดลองระเบิดปรมาณูสำเร็จและกลายเป็นประเทศมหาอำนาจนิวเคลียร์ในปี ค.ศ. 1964 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองก็เสื่อมลง จนถึงขึ้นปะทะกันโดยตรงด้วยกำลังในปี ค.ศ. 1969 จากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์และการแข่งขันกันเป็นผู้นำในโลกคอมมิวนิสต์ ระหว่างจีนกับโซเวียต มีผลทำให้ความเข้มแข็งของโลกคอมมิวนิสต์ลดน้อยลง และมีส่วนผลักดันให้จีนเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ ไปสู่การปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาในที่สุด
          ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจเริ่มคืนสู่สภาวะปกติ โดยใช้วิธีการหันมาเจรจาปรับความเข้าใจกัน ดำเนินนโยบายเกี่ยวกับที่เอื้อต่อผลประโยชน์ และความมั่นคงปลอดภัยของ ประเทศตน ระยะนี้จึงเรียกว่า "ระยะแห่งการเจรจา" (Era of Negotiation) หรือระยะ "การผ่อนคลายความตึงเครียด" (Detente) โดยเริ่มจากสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งเป็นผู้ปรับนโยบายจากการเผชิญหน้ากับโซเวียต มาเป็นการลดความตึงเครียดในความสัมพันธ์ต่อกัน
           นอกจากนี้ยังได้เปิดการเจรจาโดยตรงกับสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย ทั้งนี้เพราะตระหนักว่าจีนได้กลายเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์อีกชาติหนึ่ง และกำลังจะมีบทบาทมากขึ้นในประเทศด้อยพัฒนา และประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา ลาตินอเมริกา และยุโรป
          ดังนั้น ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1971 สหรัฐอเมริกาได้ส่งนายเฮนรี่ คิสชินเจอร์ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่ชาติ เดินทางไปปักกิ่งอย่างลับ ๆ เพื่อหาลู่ทางในการเจรจาปรับความสัมพันธ์กับจีน ซึ่งนำไปสู่การเยือนปักกิ่งของ ประธานาธิบดีนิกสัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1972 และได้ร่วมลงนามใน "แถลงการณ์เซี่ยงไฮ้" (Shanghai Joint Communique) กับอดีตนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล ซึ่งมีสาระที่สำคัญคือ สหรัฐอเมริกายอมรับว่า รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นรัฐบาลอันชอบธรรมเพียงรัฐบาลเดียวและไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน จากนั้นมาทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตต่อกันในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1979
          นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกาและโซเวียต ได้พยายามที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะที่เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างประเทศทั้งสอง ซึ่งจะเห็นได้จากการเปิดการ เจรจาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ ครั้งแรกที่กรุงเฮลซิงกิ ที่เรียกว่า SALT-1 (Strategic Arms Limitation Talks) ในปี ค.ศ. 1972 ซึ่งเป็นการเริ่มแนวทางที่จะให้เกิดความร่วมมือและสันติภาพ ในปีเดียวกันนี้ประธานาธิบดีนิกสันก็ได้ไปเยือนโซเวียต ส่วนเบรสเนฟเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ของโซเวียต ก็ได้ไปเยือนสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1973 ต่อมาประเทศทั้งสองได้เจรจาร่วมลงนามในสนธิสัญญาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 2 (SALT-2) ที่เวียนนา ในวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1979 ซึ่งมีผลทำให้โซเวียตมีความเท่าเทียมกับสหรัฐอเมริกา ทั้งทางการเมืองและทางแสนยานุภาพ นอกจากนั้นยังได้รับผลประโยชน์ทางการค้ากับฝ่ายตะวันตกเพิ่มมากขึ้น
          อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโซเวียตจะยอมร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในบางกรณีที่เป็นผลประโยชน์แก่ตน แต่โซเวียตก็ยังคงดำเนินนโยบายแผ่ขยายอำนาจและอิทธิพลเข้าไปในดินแดนต่าง ๆ ทั้งในเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา แต่โซเวียตก็พยายามระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระทั่งที่จะนำไปสู่การทำลายสภาพการผ่อนคลายความตึงเครียด ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความขัดแย้งและอาจจะไปสู่สงครามได้
 

สาเหตุของสงครามเย็น

สาเหตุของสงครามเย็น
 
สงครามเย็นมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองของประเทศมหาอำนาจทั้งสอง คือ สหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียต ที่ยึดถือเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ และความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์และเขตอิทธิพล เพื่อครองความเป็นผู้นำของโลก โดยทั้งสองประเทศพยายามแสวงหาผลประโยชน์และเขตอิทธิพลในประเทศต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ผู้ยิ่งใหญ่หรือผู้นำทางการเมืองของโลกในสมัยก่อน คือ อังกฤษ เยอรมนี ได้หมดอำนาจลงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วนั่นเอง
 
 

สงครามเย็น

สงครามเย็น


 

สงครามเย็น หนึ่งในสงครามครั้งสำคัญที่ถูกบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์โลก แม้ว่า สงครามเย็นจะเป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งอุดมการณ์ทางการเมือง แต่มันก็ได้ลุกลามและแผ่ขยายจนสร้างความตึงเครียดไปทั่วโลก และวันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ สงครามเย็น มาให้เพื่อน ๆ ได้ทำความเข้าใจกันมากขึ้นค่ะ
สงครามเย็น
 
          สำหรับ สงครามเย็น เป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มประเทศ 2 กลุ่ม ที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและระบอบการเมืองต่างกันระหว่างกลุ่มประเทศโลกเสรี นำโดยสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ นำโดยสหภาพโซเวียต ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงประมาณ ค.ศ.1945-1991 (พ.ศ. 2488-2534)
          โดยประเทศมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่ทำสงครามกันโดยตรง แต่จะพยายามสร้างแสนยานุภาพทางการทหารของตนไว้ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม และสนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามแทน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสงครามตัวแทน (Proxy War) เหตุที่เรียก สงครามเย็น เนื่องจากเป็นการต่อสู้กันระหว่างมหาอำนาจ โดยใช้จิตวิทยา ไม่ได้นำพาไปสู่การต่อสู้ด้วยกำลังทหารโดยตรง แต่ใช้วิธีการโฆษณาชวนเชื่อการแทรกซึมบ่อนทำลาย การประณาม การแข่งขันกันสร้างกำลังอาวุธ และแสวงหาอิทธิพลในประเทศเล็ก


คำนำ

คำนำ
 
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต กลุ่มสาระการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นเนื้อเกี่ยวกับเรื่อง สงครามเย็น รายงานเล่มนี้ทำขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสงครามเย็น รายงานเล่มนี้จัดทำเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการสอนภายในโรงเรียนตามความเหมาะสม
     หวังว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ในการหาความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามจุดมุ่งหมาย หากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
 
 
 
 
 
เกวลิน ขุนเนียม